การฟ้องแพทย์ โดย พญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์

การฟ้องแพทย์
โดย พญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์
ในปัจจุบันปัญหาเรื่องแพทย์ถูกฟ้องได้เกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในโรงพยาบาลของเอกชนและของรัฐบาลบางครั้งเกิดจากความเข้าใจผิด แต่บางครั้งเกิดจากความผิดพลาดจริง ๆ ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นแพทย์จึงควรศึกษาเรื่องโอกาสเสี่ยงที่อาจจะโดนฟ้องร้อง เพื่อเป็นการฟ้องร้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นแพทย์จึงควรศึกษาเรื่องโอกาสเสี่ยงที่อาจจะโดนฟ้องร้อง เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองไว้ด้วย แต่เดิมมานั้นอาชีพแพทย์เราจัดอยู่ในอาชีพที่มีเกียรติซึ่งภาษาอังกฤษเรียก Profession ภาษาไทยที่ถูกต้องคือ วิชาชีพ ซึ่งหมายความว่าเป็นอาชีพที่ต้องใช้คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ วิชาชีพที่สำคัญคือ ผู้พิพากษา แพทย์และนักบวช ส่วนสาขาอื่น ๆ จัดเป็นอาชีพ Occupation ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดให้ยึดถือจริยธรรมและคุณธรรมในการปฏิบัติงานอาช ีพแพทย์จึงไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนในการรักษาพยาบาลในลักษณะ ของค่าจ้าง (Wage) ได้คงคิดได้เพียงค่าธรรมเนียม (Fee) หากคนใข้ไม่มีเงินในการรักษาพยาบาลแพทย์ก็ต้องมีจรรยาบรรณในการรักษาช่วยชีว ิต แม้ไม่ได้เงิน อีกทั้งรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการบริก ารพื้นฐานจากรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงการรักษาพยาบาลด้วย
แต่ในปัจจุบันวิชาชีพแพทย์ถูกดึงเข้าสู่ระบบธุรกิจมากขึ้น โรงพยาบาลเอกชนเปิดดำเนินการในเชิงธุรกิจ มีจุดมุ่งหมายคือมีผลกำไร จึงทำให้ผูกพันหรือความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปเป็นเชิ งธุรกิจ โดยมีการนำโรงพยาบาลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งในต่างประเทศไม่เคยมี การนำโรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์เลย ทั้งนี้เพราะข้อกำหนดของบริษัทที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ จะต้องมีผลกำไรอยู่ในเกณฑ์ดี จึงจะผ่านการรับรอง การดำเนินการของโรงพยาบาลจึงมุ่งเน้นที่การทำกำไร มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแพทย์ การมาตรวจเยี่ยมผู้ป่วยแต่ละครั้งล้วนมีการคิดค่าแพทย์ทุกอย่างล้วนเป็นเงิน เป็นทอง ดังนั้นเมื่อแพทย์ไม่สามารถรักษาคนไข้ให้หายหรือบรรลุเป้าหมายของการตกลงในเ บื้องต้นหรือผู้ป่วยไม่พึงพอใจในผลการรักษาคนไข้ให้หายหรือบรรลุเป้าหมายของ การตกลงในเบื้องต้นหรือผู้ป่วยไม่พึงพอใจในผลการรักษาเมื่อได้จ่ายเงินเป็นจ ำนวนมากแล้วก็ตาม และหากมีความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลด้วยแล้ว ผู้ป่วยจะหันกลับมาฟ้องแพทย์ทันที โดยจะดูได้จากสถิติการฟ้องร้องแพทย์ต่อศาล และการร้องเรียนต่อแพทยสภามีมากขึ้นเรื่อย ๆ วงเงินก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ แนวโน้มเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงความศรัทธาในการทำงานของแพทย์ลดลง ความเห็นอกเห็นใจก็ลดน้อยลง ความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยผู้ป่วยก็นำมาร้องเรียน การเตรียมพร้อมต่อปัญหาการฟ้องร้อง จึงเป็นสิ่งที่แพทย์ทุกคนควรตระหนักเป็นอย่างยิ่ง
หากศึกษาวิเคราะห์เรื่องการฟ้องร้อง จะพบว่าการฟ้องร้องส่วนใหญ่เริ่มมีมากขึ้น เมื่อมีการพัฒนาเทคนิค เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางการแพทย์มากขึ้นเรื่อย ๆ (New development) ดูตัวอย่างได้จากสูติแพทย์ถูกคาดหวังจากคนไข้ที่มาฝากท้องว่าจะสามารถตรวจพบ ความพิการ ความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย แพทย์เองก็นำเครื่องมือมาใช้โดยบางครั้งอาจจะยังมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ เมื่อเกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยคนไข้จึงทำการร้องเรียน นอกจากนี้การฟ้องจะมีการดูตามแนวโน้มของคดีที่มีการฟ้องร้องที่ประสบความสำเ ร็จ (recent trends) ในประเทศไทยสูติแพทย์ถูกฟ้องเป็นอันดับหนึ่ง คดีที่มีการเรียกร้องค่าเสียหายสูงที่สุดในขณะนี้คือ คดีที่เกี่ยวกับสูติแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ นอกจากนี้ในประเทศไทยหมอเด็กก็ถูกร้องเรียนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ดูจุดที่เป็นปัญหาที่จะกระตุ้นให้เกิดการฟ้องร้องจะมีหลา ยจุดด้วยกัน ในส่วนแรกคือ เมื่อผลการรักษาไม่ได้ดังที่ผู้ป่วยคาดหวัง (unexpected result) ผู้ป่วยไม่พอใจในการดูแลเอาใจใส่หรือการรักษาของแพทย์และเจ้าหน้าที่
เช่น ผู้ป่วยเป็นคนไข้ประจำของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง มีอาการปวดท้องไปพบแพทย์ตรวจหลายครั้งก็ไม่ดีขึ้น เมื่อเปลี่ยนไปหาแพทย์โรงพยาบาลอื่นจึงตรวจพบว่าไส้ติ่งอักเสบแตกแล้ว ผู้ป่วยจึงย้อนกลับไปฟ้องร้องแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งแรกที่เคยรักษาเป็นประจำ ในส่วนที่ 2 คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนจนผู้ป่วยเสียชีวิต หรือไม่สามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิมหรือสูญเสียอวัยวะบางส่วน (seriousness of injury) ซึ่งปัญหาในส่วนนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากอันมีปัจจัยมากจากการวินิจฉัย หรือการรักษาพยาบาลที่ผิดพลาดหรือช้าเกินไป ทั้งนี้เพราะแพทย์เราเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากเกินไป ไม่ดูแลผู้ป่วยในลักษณะองค์รวม (Holistic approach) ส่วนที่ 3 คือปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเปลี่ยนไป (weak doctor-patient relationship) ผู้ป่วยคาดหวังว่าแพทย์จะอธิบาย ชี้แจงเรื่องความเจ็บป่วยให้ทราบ แต่แพทย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะมาดูคนไข้แล้วก็ไป และในโรงพยาบาลเอกชนการมาดูผู้ป่วยแต่ละครั้งจะมีการคิดค่าตรวจเสมอ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยจึงเปลี่ยนเป็นเชิงธุรกิจเกือบทั้งหมด เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็อาจมีการดำเนินทางกฎหมายทันที โดยไม่เกรงใจ ปัญหาในส่วนที่ 4 คือ ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าตรวจหรือค่ารักษา (uncertain financial future) ที่สูงไม่แน่นอน ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าทางโรงพยาบาลไม่ได้ทำอะไรเท่าไรแต่บิลค่ารักษากลับสูงเก ินความเป็นจริง โรงพยาบาลบางแห่งทำการเจาะเลือด ตรวจทางห้องปฏิบัติการมากมายเกินความจำเป็น ซึ่งทำให้คนไข้ต้องจ่ายเงินมากเกินความจำเป็น และปัญหาในส่วนสุดท้ายคือมีการกระตุ้นหรือการสนับสนุนให้ฟ้องร้องแพทย์โดยญา ติของผู้ป่วยหรือ แพทย์ด้วยกัน (support group) คดีฟ้องร้องแพทย์ในเมืองไทย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการให้ความเห็นในลักษณะทับถมของแพทย์อีกคนเช่น การที่แพทย์พูดว่าแพทย์ไม่น่าทำการรักษาแบบนั้นแบบนี้เลย หากมาพบแพทย์ก่อนหน้านั้นคงไม่ต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมา
ลักษณะการฟ้องร้องที่แพทย์อาจโดนคนไข้ฟ้องร้องมี 2 ลักษณะ คือ:
ความผิดอาญา ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1.1 ความผิดอาญาทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยความผิดหลัก ๆ คือ
ความผิดเกี่ยวกับความยินยอมของผู้ป่วยคือ แพทย์กระทำการรักษาใด ๆ ควรได้รับการยินยอมที่ถูกต้องก่อน ยกเว้นกรณีเร่งด่วนเพื่อช่วยชีวิต มิเช่นนั้นอาจมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย หรือมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ หรือที่ร้ายแรงที่สุดคือ ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ในเรื่องความยินยอมนี้ ทางแพทยสภาได้กำหนดแนวปฏิบัติในเรื่องสิทธิผู้ป่วย โดยคนไข้มีสิทธิที่จะรับรู้การดำเนินการ หรือการรักษาใด ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเอง แพทย์จึงมีหน้าที่ชี้แจง และขอความยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล บ่อยครั้งที่คนไข้ฟังแพทย์อธิบายไม่รู้เรื่อง โดยที่แพทย์ก็อาจไม่ทราบ บางครั้งแพทย์อาจดำเนินการรักษาไปโดยไม่ได้ขอความยินยอม เช่นการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกในการผ่าท้องคลอดลูกแล้วมีการคิดค่ารักษาเพิ่มเต ิม
ความผิดอาญาจากการกระทำโดยประมาท ซึ่งเป็นความผิดโดยตรวจจากการรักษาพยาบาลผิดพลาด
ความผิดที่เกี่ยวกับการงดเว้นการกระทำ เช่น แพทย์ต้องอยู่เวรแต่กลับไปทำคลีนิค ทำให้คนไข้ไม่ได้รับการช่วยเหลือทันการณ์
1.2 ความผิดอาญาที่เกี่ยวกับการกระทำของแพทย์หรือบุคคลากรด้านสุขภาพมีความผิดหล ักๆ คือ
ความผิดฐานให้คำรับรองเท็จ ในปัจจุบันแพทย์ถูกผลักภาระให้ต้องออกใบรับรองแพทย์มากเกินความจำเป็น เช่นการตรวจร่างกายเพื่อสมัครงาน หรือนักเรียนหยุดเรียนเพราะไม่สบายหนึ่งถึงสองวัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ในบางครั้งแพทย์ก็ร่วมมือในการออกใบรับรองเท็จ เช่นการรับรองทนายความ หรือผู้ต้องหาที่ไม่ไปศาล
ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก ผู้ป่วยหรือคนชรา
ความผิดฐานเปิดเผยความลับ ซึ่งในสิทธิผู้ป่วยก็ได้มีการกำหนดข้อพึงปฏิบัติในเรื่องนี้ไว้ด้วย การเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย เช่นการตีพิมพ์ หรือการมอบเวชระเบียนให้กับผู้ใดต้องตรวจสอบก่อนว่า ผู้ป่วยได้อนุญาตหรือยัง ข้อยกเว้นมีกรณีเดียวคือ เมื่อทางศาลขอมา ปัญหาในทางปฏิบัติส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับบริษัทประกันเป็นการอนุญาตที่ถูกต ้องหรือไม่ ในกรณีของบริษัทประกันนี้แพทย์ควรมีการตรวจสอบการยินยอมจากผู้ป่วยอีกครั้งใ นกรณีดังต่อไปนี้ คือคนไข้เป็นมะเร็ง โรคเอดส์ หรือโรคจิต
ความผิดฐานไม่ช่วยผู้อื่นที่อยู่ในอันตราย
ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ในปัจจุบันมีการตรวจจับคลีนิคทำแท้งเถื่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้มีการทำแท้งได้เพียงสองกรณีคือ เพื่อสุขภาพของมารดา และเมื่อถูกข่มขืนกระทำชำเรามา
ในอดีตแพทย์ยังไม่เคยถูกฟ้องอาญาเท่าไร แต่ในปัจจุบันมีการฟ้องแพทย์ในคดีอาญามากขึ้น ซึ่งกำหนดบทลงโทษต่อผู้ที่กระทำผิดโดยตรง บทลงโทษมีตั้งแต่ปรับไปจนถึงโทษหนักที่สุดคือ ประหารชีวิต
ความผิดทางกฎหมายแพ่ง ลักษณะประเด็นที่เกี่ยวข้องระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์หรือบุคคลากรในคดีแพ่งมีอ ยู่ 2 ลักษณะใหญ่ คือ
2.1 ความผิดสัญญา ซึ่งมักเกิดจากแพทย์ไปสัญญากับผู้ป่วยว่าจะทำการรักษาอย่างนั้นอย่างนี้ จะได้ผลต่าง ๆ ซึ่งเมื่อไม่ได้ผลดังที่ตกลงสัญญาไว้ ผู้ป่วยมักจะดำเนินการฟ้องร้อง โดยส่วนใหญ่มักพบว่าผู้ป่วยร้องเรียนเกี่ยวกับการผ่าตัดทำศัลยกรรมตกแต่งมาก ที่สุด ซึ่งแพทย์มักสัญญาว่าจะทำการผ่าตัดแล้วจะสวย หรือไม่ก็ให้คำมั่นสัญญาว่าหากผ่าตัดและไม่พอใจก็จะทำการผ่าตัดแก้ไขให้อีกส าขาที่แพทย์มักเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในลักษณะการให้สัญญา ซึ่งกำลังเริ่มมีปัญหามากขึ้นคือ การแก้ปัญหาผู้มีบุตรยาก หรือการเลือกเพศของบุตร ทั้งนี้เพราะการดำเนินการในแต่ละครั้งต้องใช้ค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งไม่สามารถคาดหวังว่าจะได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์
2.2 ความผิดจากการกระทำละเมิดโดยตรงคือ กรณีที่แพทย์ดำเนินการรักษาผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหาย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ซึ่งความรับผิดชอบจากการละเมิดมีขอบเขตกว้างขวาง คือผู้กระทำละเมิดโดยตรงรับผิดชอบส่วนแรก ผู้อื่นที่มีหน้าที่เช่น หากแพทย์เวรทำผิดพลาดเกิดความเสียหายขึ้น นอกจากแพทย์เวรที่รับผิดชอบจะเป็นการร่วมชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งเรียกรวมว่าค่าสินไหมทดแทน ในกรณีการรักษาพยาบาลค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่าย ค่าเสียหายในการเสียความสามารถประกอบการงาน ค่าขาดอุปการะ ซึ่งในคดีแพ่งที่มีการฟ้องร้องแพทย์ที่มีการฟ้องอยู่ในขณะนี้มีมูลค่าสูงถึง หกร้อยกว่าล้านบาท
จากความผิดที่แพทย์อาจโดนฟ้องร้องดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากแพทย์โดนฟ้องร้องคดีอาญา จะต้องเป็นแพทย์ที่มีส่วนในการกระทำผิดโดยตรง บทลงโทษมีตั้งแต่ปรับ จำคุก ถึงประหารชีวิต แต่ถ้าโดนฟ้องคดีแพ่งแพทย์ที่จะต้องร่วมรับผิดชอบมีมากกว่าผู้กระทำโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหัวหน้างานตามลำดับ รวมถึงเจ้าของสถานพยาบาล ซึ่งบทลงโทษคือ การจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย ดังนั้นหากแพทย์จะป้องกันไม่ให้ถูกฟ้องร้องก็คงต้องสำรวจดู การทำงานของตัวแพทย์เอง และขององค์กรเพื่อดูว่าโอกาสเสี่ยง (High risk) อยู่ที่ไหนได้บ้างและหามาตรการดำเนินการป้องกัน การดำเนินการในลักษณะนี้เรียกว่า Risk Identification ซึ่งมีตั้งแต่การสำรวจโดยตัวเราเอง (Individual) ระดับภาควิชา หรือหน่วยงานย่อย (Internal Identification) ระดับโรงพยาบาล หรือหน่วยงานใหญ่ (External Identification) ในปัจจุบันองค์กรระดับใหญ่คือ โรงพยาบาลควรจะจัดให้มีการดำเนินการเรื่อง High risk โดยมีทีมงานที่สามารถรับรู้และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องกระตุ้นให้บุคคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ และตระหนักในเรื่องดังกล่าวด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันสำหรับตัวเอง วิธีที่ดีที่สุดคือ การรักษาผู้ป่วยด้วยความยึดมั่นในจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรมที่ดีของวิชาแพทย์ อย่าคำนึงถึงประโยชน์ตามกระแสสังคมจนหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็อาจโดนฟ้องร้องเข้าสักครั้งหนึ่ง อีกประการที่แพทย์อาจใช้เป็นพยานยืนยันว่า ท่านได้ทำถูกขั้นตอนก็คือ การบันทึกใน medical record ซึ่งปัจจุบันแพทย์มักละเลยที่จะบันทึกข้อมูลการรักษาการดำเนินโรคให้ดีรอบคอ บ โดยอ้างว่าไม่มีเวลา อาจจะทำให้แพทย์ต้องเสียใจในภายหลังหากโดนฟ้องแล้วไม่สามารถหาพยานยืนยันสิ่ งที่เราได้ทำไว้แล้ว ปัญหาในการบันทึกในเวชระเบียนของแพทย์มีมาก ซึ่งในขณะนี้แพทยสภาได้ร่างระเบียบกำหนดมาตรฐานในการบันทึกเวชระเบียนแยกตาม ประเภทคนไข้ โดยมีข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานการบันทึก รวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการบันทึกเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของแพทย์
แม้ว่าการฟ้องร้องจะเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย แต่สังคมไทยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงเหมือนสังคมตะวันตกเสียทีเดียวนัก คนไทยยังมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยยังไม่อยู่ในภาวะวิกฤตเสียทีเดียว และหากเรายึดมั่นในคติธรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ว่า อัตตาน๐ อุปมัง กะเร พึงเอาใจเขามาใส่ใจเราในการทำงาน การเข้าใจการยอมรับในความรู้สึกของผู้ป่วย จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดการฟ้องร้องแพทย์ไม่ให้มีมากขึ้น การทำประกันวิชาชีพจะไม่ช่วยป้องกันการฟ้องร้อง แต่กลับเป็นการกระตุ้นให้เกิดวงจรปัญหาตามมาอีกมากมาย เพราะเมื่อแพทย์ต้องจ่ายเงินประกัน ก็จะย้อนมาเรียกค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ผลสุดท้ายภาระก็จะตกกับผู้ป่วย ระบบแพทย์ก็จะกลายเป็นเหมือนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการฟ้องร้องมาก แพทย์ต้องทำประกันความเสี่ยงเป็นวงเงินสูง วิชาชีพแพทย์โดยแท้จริงแล้วคือการช่วยเหลือผู้อื่นที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้ เจ็บ ซึ่งเป็นภาระงานที่หนัก โดยไม่อาจคาดหวังว่าจะได้ค่าตอบแทน แต่สังคมเปลี่ยนไปมีลักษณะเป็น moneyoriented แพทย์ก็เริ่มจะมี money conscious มากไป โดยคาดหวังว่าจะได้ค่าตอบแทนสูงในการรักษาพยาบาล ภาพพจน์แห่งการเสียสละ ความเป็นวิชาชีพที่น่านับถือ จึงค่อย ๆ หายไป การรักษาพยาบาลจึงกลายเป็นเหมือนการซื้อขายบริการอย่างหนึ่ง ปัจจุบันคดีต่าง ๆ ที่เริ่มมีมากขึ้นคงมีส่วนให้แพทย์เราย้อนกลับมากศึกษาปัญหาและหาทางป้องกัน เพื่อไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้นกับตัวเองและที่สำคัญที่สุด คือการรักษามาตรฐานวิชาชีพและองค์กรของเราไว้ ดังภาษิตภาอังกฤษบทหนึ่งดังนี้
We are doctors.
We are the professionals.
We must up-hold standards of practice and very professional and ethical
in the carrying out of our duties and responsibilities.
We will be better respected if we remain so.
|